ส่องตลาดอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2 ปี 2566 และทิศทางตลาดปี 2566-2567

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยรายงานตลาดอสังหาริมทรัพย์ ไตรมาส 2 ปี 2566 ยังคงพบปัจจัยลบในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจ และภาวะดอกเบี้ยขาขึ้น ซึ่งส่งผลให้ความสามารถในการซื้อบ้านลดลง

ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เปิดเผยว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ไทยใน 2 ไตรมาสแรกยังคงอยู่กับปัจจัยลบต่าง ๆ ในหลายด้าน

ทั้งการฟื้นตัวของภาพรวมเศรษฐกิจที่ยังไม่เต็มที่ ภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นที่เริ่มจะส่งผลทำให้ความสามารถในการซื้อที่อยู่อาศัยของประชาชนปรับตัวลงแล้ว ภาวะอัตราส่วนหนี้ครัวเรือนที่สูงกว่า 90% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ราคาที่อยู่อาศัยที่ปรับตัวสูงขึ้น

ปัจจัยลบเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนของอุปสงค์และอุปทานในตลาดที่อยู่อาศัยในช่วง 2 ไตรมาสแรกที่ผ่านมา โดยอุปสงค์มีการปรับตัวลดลงของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ และยอดขายใหม่ที่ลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อนได้สะท้อนให้เห็นถึงกำลังซื้อที่อยู่อาศัยที่ยังไม่แข็งแรงเท่าที่ควร และยังต้องการมาตรการกระตุ้นที่สำคัญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ที่มีความชัดเจนและตรงจุด ทั้งนี้ ถือเป็นความท้าทายของรัฐบาลใหม่ในการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจ

สถานการณ์อุปทานที่อยู่อาศัย ไตรมาส 2 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (REIC) พบการเปลี่ยนแปลงในด้านอุปทาน โดยการออกใบอนุญาตจัดสรรที่ดินทั่วประเทศ ณ ไตรมาส 2/2566 มีจำนวน 18,993 หน่วย ลดลง 1.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565 ที่มีจำนวน  19,217 หน่วย

ในจำนวนดังกล่าวเป็นการออกใบอนุญาตจัดสรรมากที่สุดเป็น บ้านเดี่ยวจำนวน 7,157 หน่วย คิดเป็น 37.7% ลดลง 13.6% อันดับที่ 2 เป็นทาวน์เฮ้าส์ จำนวน 6,816 หน่วย หรือคิดเป็น 35.9% เพิ่มขึ้น 8.6% และ          อันดับ 3 เป็นประเภทบ้านแฝดจำนวน 3,659 หน่วย คิดเป็น 19.3% ลดลง 10.2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565

โดยคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีการออกใบอนุญาตจัดสรรทั่วประเทศจำนวน 80,643 หน่วย ลดลง 12.1% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง -23.2% ถึง -6.1% และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 83,062 หน่วยในปี 2567 เพิ่มขึ้น 3% จากปี 2566 โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง -7.3% ถึง 13.3%

ขณะที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างที่อยู่อาศัย จากข้อมูลล่าสุดในไตรมาส 1 ปี 2566 มีจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศรวม 10,087,851 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 5.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 1 ปี 2565 ที่มีจำนวน 9,557,579 ตารางเมตร โดยพื้นที่ก่อสร้างแนวราบเพิ่มขึ้น 4.5% และอาคารชุดเพิ่มขึ้น 23.6%

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2566 จะมีจำนวนพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างทั่วประเทศประมาณ 34,099,701 ตารางเมตร ลดลง 12.6% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 30,689,731 ถึง 38,191,665 ตารางเมตร หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -21.4% ถึง -2.2%

โดยสามารถแยกเป็นพื้นที่การออกใบอนุญาตก่อสร้างแนวราบทั่วประเทศประมาณ 31,585,690 ตารางเมตร ลดลง 12.5% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 28,427,121 ถึง 35,375,972 ตารางเมตร หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -21.3% ถึง -2.0% เป็นการออกใบอนุญาตก่อสร้างอาคารชุดทั่วประเทศประมาณ 2,514,012 ตารางเมตร ลดลง 14.3%

โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 2,262,610 ถึง 2,815,693 ตารางเมตร หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -22.9% ถึง -4.0% และคาดการณ์ว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น ประมาณ 34,756,555 ตารางเมตร เพิ่มขึ้น 1.9% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง -8.3% ถึง 12.1%

สถานการณ์อุปสงค์ที่อยู่อาศัย ไตรมาส 2 ปี 2566 และแนวโน้มปี 2567

ด้านสถานการณ์อุปสงค์ จากข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยไตรมาส 2 ปี 2566 พบว่า มีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศจำนวน 91,085 หน่วย ลดลง 4.4% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565 ที่มีจำนวน 95,285 หน่วย

โดยมีมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ จำนวน 258,149 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.5% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2 ปี 2565 ที่มีจำนวน 256,739 ล้านบาท โดยมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบลดลง 3.8% แต่อาคารชุดเพิ่มขึ้น 13.6%

เมื่อพิจารณาตามระดับราคาพบว่า ที่อยู่อาศัยในระดับราคา 7.51-10.00 ล้านบาท มีหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้นสูงสุด 16% มูลค่าเพิ่มขึ้น 17.5% และระดับราคาตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป หน่วยการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มขึ้น 12.4% มูลค่าเพิ่มขึ้น 10.3% โดยในส่วนของที่อยู่อาศัยแนวราบการโอนกรรมสิทธิ์ลดลงทุกระดับราคายกเว้นระดับราคา 7.51-10.00 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.2% และระดับราคาเกินกว่า 10 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.2%

ขณะที่ในส่วนของหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดภาพรวมเพิ่มขึ้นเกือบทุกระดับราคา ยกเว้นระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท ลดลง 12.1% แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าเป็นการลดลงในกลุ่มของการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดใหม่ระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท สูงถึง -20.2% ขณะที่ห้องชุดมือสองในระดับราคาเดียวกันกลับเพิ่มสูงขึ้นถึง 24.1%

โดยห้องชุดระดับราคาที่มีการโอนกรรมสิทธิ์เพิ่มสูงขึ้นมากที่สุดคือระดับราคามากกว่า 10.00 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นถึง 46.7% เป็นการเพิ่มขึ้นของการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดใหม่ 52.4% และห้องชุดมือสองในระดับราคาเดียวกัน 33.3%

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าปี 2566 จะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน ประมาณ 336,062 หน่วย ลดลง 14.5% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 302,455 ถึง 369,668 หน่วย หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -23.0% ถึง -5.9% เมื่อเทียบกับปี 2565 คิดเป็นมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย ประมาณ 977,593 ล้านบาท ลดลง 8.2% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 879,833 ถึง 1,075,352 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -17.4% ถึง 1.0%

โดยคาดการณ์ว่าในปี 2566 จะเป็นหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ของที่อยู่อาศัยแนวราบประมาณ 251,635 หน่วย ลดลง 11.9% โดยมีช่วงการคาดการณ์ 226,472 ถึง 276,799 หน่วย หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อนระหว่าง -20.7% ถึง -3.1% และมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยแนวราบประมาณ 728,092 ล้านบาทลดลง -6.2% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 655,282 ถึง 800,901 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -15.6% ถึง 3.1%

คาดการณ์ว่าจะเป็นหน่วยการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดประมาณ 84,427 หน่วย ลดลง 21.2% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 75,984 ถึง 92,869 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -29.1% ถึง -13.3% เมื่อเทียบกับปี 2565 และมีมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยห้องชุดประมาณ 249,501 ล้านบาท ลดลง 13.5% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 224,551 ถึง 274,451 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -22.2% ถึง -4.9%

สำหรับในปี 2567 คาดการณ์ว่าจะมีหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน ประมาณ 349,910 หน่วย เพิ่มขึ้น 4.1% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 314,919 ถึง 384,901 หน่วย หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -6.3% ถึง 14.5% คิดเป็นมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวน ประมาณ 1,022,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.6% โดยมีช่วงการคาดการณ์ระหว่าง 920,457 ถึง 1,125,003 ล้านบาท หรือเปลี่ยนแปลงจากปีก่อน -5.8% ถึง 15.1%

×

ข่าวและบทความอื่นๆ

สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติไตรมาส 2 ปี 2566

สถานการณ์การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยของคนต่างชาติไตรมาส 2 ปี 2566 และคาดการณ์ ปี 2566

อ่านเพิ่มเติม

อสังหาน่าหนักใจปี 2567 “ไม่ลงทุนเกินตัว-เพลย์เซฟ-Wait & See”

“ประชาชาติธุรกิจ” สำรวจข้อคิดเห็นกูรูวงการอสังหาริมทรัพย์เมืองไทย 6 ราย ปัจจัยกดดันภาคธุรกิจที่อยู่อาศัย หรือปัจจัยน่าหนักใจ 3 เรื่องหลักในปีมังกรมีอะไรบ้าง แนวทางการปรับตัวรับมือสถานการณ์ และมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเศรษฐาอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม

อสังหาฯ ปี 2567 จะไปทางไหน? หลังยอดปฏิเสธ สินเชื่อบ้านพุ่ง!

อสังหาฯ ไทย 2567 ไปต่อ หรือ ถดถอย ตัวแปรหลัก คือ เศรษฐกิจ บนความเสี่ยง สต๊อกเหลือขายพุ่ง! คนซื้อบ้าน อยากได้ แต่กู้ไม่ผ่าน, ราคาวัสดุก่อสร้าง ทรงตัวสูง ขณะบริษัทวิจัยดัง ชี้ Worst Case โครงการเงินดิจิทัลไม่ผ่าน บรรยากาศเศรษฐกิจซึม มีโอกาสตลาดปีหน้าหด

อ่านเพิ่มเติม

“พฤกษาฯ” รุกอสังหาฯ ปี 67 ทุ่ม 3 หมื่นล้าน ขึ้น 30 โปรเจกต์ ผุดบ้านหรู 50 ล้าน

"พฤกษา โฮลดิ้งฯ" เปิดสเต็ปการรุกธุรกิจอสังหาฯ ปี "มังกรทอง" ปี 2567 "ซีอีโอใหญ่" อุเทน โลหชิตพิทักษ์ วิเคราะห์มีหลายปัจจัยล้วนส่งผลกระทบตลาดอสังหาฯ ต่อในปีใหม่นี้ มีความท้าทายรออยู่ “เป็นปีที่ไม่ง่าย” วอนรัฐสานต่อมาตรการดูแลผู้มีรายได้น้อยซื้อบ้าน

อ่านเพิ่มเติม

ค้นหา


ฝาก เช่า/ ขาย ได้ที่ 

Copyright © 2024 teenoiproperty.com all right are reserved.

ขอเครดิตฟรีหน่อยครับสมัครปุ๊บรับปั๊บไม่ต้องฝาก a href="https://slot938.com" style="font-size: 0.33em; color: #870000;">สล็อตออนไลน์ เครดิตโบนัสได้เงินจริง slot938 สล็อต สล็อตออนไลน์ thaicasinobin แจกเครดิตฟรี สล็อต บาคาร่า คาสิโนออนไลน์ JQK41 a href="http://thaibet55.com/" style="font-size: 0.33em; color: #870000;">สล็อต เครดิตฟรี ไทยคาสิโนออนไลน์ thaibet55 a href="http://kuyuluk.com" style="font-size: 0.33em; color: #870000;">kubet ไทยคาสิโนออนไลน์ แทงบอล ซอคเกอร์ลีก คะแนนฟุตบอล เว็บพนันอันดับ1 HUC99 เว็บตรง ไม่ผ่านเอเย่นต์ เว็บรวมข้อมูล พนันออนไลน์เว็บไหนดี ได้เงินจริง พร้อมฟรีเครดิต